สพฐ. สป.ศธ. และภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน รวมใจ รวมพลัง ร่วมขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา (พื้นที่ใหม่)

15 มิถุนายน 2566

เช้าวันนี้ (16 มิถุนายน 2566) นายภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้รับมอบหมายจากเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อออกแบบและขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาโดยใช้กระบวนการประเมินเชิงพัฒนา (Developmental Evaluation) ซึ่งจะจัดขึ้น ระหว่างวันที่ 15 – 16 มิถุนายน 2566

ซึ่งการจัดงานครั้งนี้เกิดขึ้นได้ด้วยความร่วมมือจากหลายภาคส่วนทั้ง สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (สป.ศธ.) มูลนิธิสยามกัมมาจล สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) สถาบันอาศรมศิลป์ ตลอดจนหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนในพื้นที่ ซึ่งทำให้งานครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมการประชุมครั้งนี้รวมกว่า 720 คน กระจายอยู่ตาม Station ของพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พื้นที่ใหม่ทั้ง 11 พื้นที่ ได้แก่ จังหวัดกระบี่ จังหวัดจันทบุรี จังหวัดตราด จังหวัดภูเก็ต จังหวัดแม่ฮ่องสอน จังหวัดสงขลา จังหวัดสระแก้ว จังหวัดสุโขทัย จังหวัด สุราษฎร์ธานี จังหวัดอุบลราชธานี และจังหวัดบุรีรัมย์

การจัดงานเป็นแบบผสมผสานทั้ง Online และ Onsite แต่ละพื้นที่มีผู้เข้าร่วมที่หลากหลายประกอบด้วยบุคคลจากทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ได้แก่ 1) ผู้แทนคณะกรรมการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา 2) ผู้แทนบุคลากรในสังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา 3) ผู้แทนบุคลากรในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา 4) ผู้แทนบุคลากรจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ เอกชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 5) บุคลากรจากส่วนกลาง

วัตถุประสงค์ในการประชุมในครั้งนี้เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องหลักในการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาเข้าใจกระบวนการ Developmental Evaluation (DE) ช่วงต้นน้ำ ร่วมกันกำหนดผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ของการศึกษา (DOE: Desired Outcomes of Education) ของจังหวัดที่จะใช้สำหรับขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดของตน พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องหลักในการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษามีส่วนร่วมในการวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหา และกำหนดเป้าหมาย (Vision) ผลลัพธ์หลัก (KRA) ตัวชี้วัดร่วม (KPI) เพื่อให้จังหวัดได้ทบทวนและปรับแผนดำเนินงาน (ACT) ให้สอดคล้องกัน

นอกจากนี้นายภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้กล่าวขอบคุณ ชื่นชมให้กำลังใจคณะทำงานและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกคนทุกภาคส่วนที่ได้มารวมใจ รวมพลัง ร่วมกันขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาในครั้งนี้ ซึ่งถือเป็นนิมิตหมายที่ดีในการเริ่มต้นการขับเคลื่อนเชิงรูปธรรมที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการส่งเสริม สนับสนุนให้จังหวัดได้มีการกำหนดยุทธศาสตร์และแผนการดำเนินงานเพื่อขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาตามเจตนารมณ์ของกฎหมายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาต่อไป

ติดตามอื่น ๆ ได้ที่

     



ผู้เขียน: เก ประเสริฐสังข์
กราฟิกดีไซน์เนอร์ :
อิศรา โสทธิสงค์, เก ประเสริฐสังข์
ผู้อัพโหลดคอนเทนต์ : ภัชธีญา ปัญญารัมย์

Facebook Comments
คณะศึกษาศาสตร์ มช. ลงพื้นที่พัฒนาครูและผู้บริหารโรงเรียนฉือจี้เชียงใหม่ อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ อย่างเต็มระบบ“ศธจ. โซ่ข้อกลางเชื่อมการพัฒนาการศึกษาระดับพื้นที่” ปลัดกระทรวงศึกษาธิการมอบนโยบาย ศธจ. พร้อมส่งเสริม สนับสนุนการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา
บทความล่าสุด