สพฐ. ขอความร่วมมือ ศธจ. รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา เพื่อเสนอคณะกรรมการนโยบาย ที่มีนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน

6 กรกฎาคม 2562

ตามที่ กระทรวงศึกษาธิการ ประกาศจัดตั้งพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ประกอบด้วย 6 พื้นที่ ได้แก่ จังหวัดสตูล ศรีสะเกษ ระยอง เชียงใหม่ กาญจนบุรี และจังหวัดชายแดนภาคใต้ และมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2562 เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2562  ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้เสนอเรื่องขอกำหนดวันประชุมคณะกรรมการนโยบายพื้นที่การศึกษา ไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อนำเรียนนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ซึ่งในระเบียบวาระการประชุมมีเรื่อง การรายงานความก้าวหน้าของการดำเนินงานของพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา จำนวน 6 พื้นที่ นั้น

ในการนี้ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ขอความอนุเคราะห์ศึกษาธิการจังหวัด ในฐานะเลขานุการ คณะกรรมการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ส่งข้อมูลและเอกสารประกอบการประชุมคณะกรรมการนโยบายพื้นที่การศึกษา โดยจัดทำรายงานความก้าวหน้าของการดำเนินงานของพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาใน 3 ประเด็น คือ 1) กลไกในการจัดการศึกษาร่วมกันของภาคส่วนต่าง ๆ และบทบาทหน้าที่ของคณะทำงานและภาคีเครือข่ายในการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา 2) การดำเนินงานของสถานศึกษานำร่อง ในการคิดค้นและพัฒนานวัตกรรมการศึกษาการเรียนรู้ เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของผู้เรียน และ 3) แผนการดำเนินงานปีงบประมาณ 2562 และกำหนดกิจกรรมสำคัญของพื้นที่ที่ประสงค์ให้ผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงศึกษาธิการ ลงพื้นที่ไปร่วมเรียนรู้กระบวนการและผลการดำเนินงานของพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ทั้งนี้ ขอให้ส่งรายงานความก้าวหน้าดังกล่าว ภายในวันที่ 19 กรกฎาคม 2562 *

* ขณะนี้ นายกรัฐมนตรีมีบัญชากำหนดวันประชุมคณะกรรมการนโยบายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ในวันที่ 12 กรกฎาคม 2562 เวลา 13.30 น. ณ ตึกภักดีบดินทร์ ทำเนียบรัฐบาล ดังนั้นจึงขอปรับเปลี่ยนวันส่งรายงานของพื้นที่ ภายในวันที่ 10 กรกฎาคม 2562
** พื้นที่ จชต. ขอให้ ศปบ.จชต. ในฐานะเลขานุการ คกก.ขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นผู้รวบรวมและรายงานดังกล่าวให้ สพฐ. ภายในวันที่ 10 กรกฎาคม 2562

Facebook Comments
สบน. สำนักใหม่ของ สพฐ. ขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาดร.อัมพร พินะสา รองเลขาธิการ กพฐ. ลงพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาสตูล เห็นพลังการมีส่วนร่วม บรรยากาศการจัดการเรียนรู้แบบ Active เด็กได้ตั้งเป้าหมาย ได้คิด-ทำ-นำเสนอ-สะท้อนผล ด้วยตนเอง
บทความล่าสุด