ขับเคลื่อนนโยบายเพื่อการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา การประชุมคณะกรรมการนโยบายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ครั้งที่ 2/2566

18 สิงหาคม 2566
ขับเคลื่อนนโยบายเพื่อการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา
การประชุมคณะกรรมการนโยบายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ครั้งที่ 2/2566

เมื่อวันที่ 30 มิ.ย. 2566 ที่ผ่านมาได้มีการประชุมคณะกรรมการนโยบายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ครั้งที่ 2/2566 โดยมีนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานกรรมการ พร้อมด้วยนายอรรถพล สังขวาสี ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ แทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และนายอัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นกรรมการและเลขานุการ และกรรมการ ซึ่งเป็นปลัดกระทรวงหรือผู้แทนจากหน่วยงานต่าง ๆ อาทิ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ, สำนักงานปลัดกระทรวงดิจิทัลฯ, สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย, สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง, สำนักงบประมาณ, ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย, กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น อีกทั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ อาทิ นายสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์, รองศาสตราจารย์ประภาภัทร นิยม, นายสมศักดิ์ พะเนียงทอง พะเนียงทอง, นางปิยาภรณ์ มัณฑะจิตร, นางศุภธิดา พรหมพยัคฆ์, นายปกรณ์ นิลประพันธ์

สบน. ในฐานะฝ่ายเลขานุการและรับผิดชอบงานธุรการของคณะกรรมการนโยบายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ได้รวบรวมเอกสารและผลการดำเนินงานตาม พ.ร.บ.พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2562 สำหรับเสนอให้ที่ประชุมทราบและพิจารณา โดยสรุปสาระสำคัญ ดังรายละเอียดต่อไปนี้

เรื่องที่เสนอให้ที่ประชุมทราบ

ฝ่ายเลขานุการ ได้นำเสนอวาระเพื่อทราบต่อที่ประชุม 4 เรื่องได้แก่

  1. การให้ความเห็นชอบหลักสูตรของสถานศึกษานำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา
    • พิจารณาให้เห็นชอบหลักสูตรสถานศึกษาฐานสมรรถนะของสถานศึกษานำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา จำนวน 111 หลักสูตร ดังนี
      – หลักสูตรสถานศึกษาที่ได้รับความเห็นชอบเชิงหลักการและโครงสร้าง จำนวน 59 หลักสูตร
      – หลักสูตรที่ได้รับความเห็นชอบในเชิงหลักการและโครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษาฐานสมรรถนะ แบบมีเงื่อนไข จำนวน 47 หลักสูตร
      – หลักสูตรที่ยังไม่ลงความเห็น เนื่องจากข้อมูลไม่เพียงพอต่อการพิจารณา จำนวน 4 หลักสูตร
      – หลักสูตรต่างประเทศของโรงเรียนนานาชาติตากสินแกลง จังหวัดระยอง จำนวน 1 หลักสูตร
  2. ความก้าวหน้าเกี่ยวกับมาตรฐานข้อมูลและมาตรฐานการแลกเปลี่ยนข้อมูลการจัดการศึกษาของพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาและสถานศึกษานำร่อง
  3. การประชุมเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อออกแบบและขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา โดยใช้กระบวนการประเมินเชิงพัฒนา (Developmental Evaluation)
  4. ความคืบหน้าของการพัฒนาระบบคัดเลือกและแนวปฏิบัติในการดำเนินการย้ายผู้บริหารสถานศึกษานําร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา
เรื่องที่เสนอให้ที่ประชุมพิจารณา

ทั้งนี้ ฝ่ายเลขานุการ ได้นำเสนอวาระเพื่อพิจารณาต่อที่ประชุม 1 เรื่องได้แก่

  1. แนวทางในการปรับปรุงแก้ไขและกำกับดูแลการดำเนินงาน ของคณะกรรมการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา

ผลการประเมินในภาพรวม มีดังนี้

    1. การกระจายอำนาจและการให้อิสระ เป็นประเด็นที่ประสบความสำเร็จที่สุด โดยพบว่า สถานศึกษาได้รับอิสระในการใช้หลักสูตรประเภทต่าง ๆ อย่างไรก็ตาม พบปัญหาเรื่องการจัดจ้างบุคลากรอยู่บ้าง
    2. การสร้างและพัฒนากลไกความร่วมมือทุกภาคส่วน ผู้วิจัยได้ศึกษาเรื่องการระดมทรัพยากรที่ใช้ในการจัดการศึกษา พบว่า การระดมทรัพยากรทางการเงินไม่หลากหลายเท่าที่ควร ยังพึ่งพางบประมาณจากส่วนกลางเป็นหลัก การได้รับงบประมาณจากการบริจาคและจากจังหวัด ยังพบได้ค่อนข้างน้อย มีบางพื้นที่ได้รับงบประมาณเพิ่มเติมจากจังหวัด
    3. การเพิ่มผลสัมฤทธิ์และการผลิต/พัฒนา/ขยายผลนวัตกรรมการศึกษา การขยายผลนวัตกรรมการศึกษา พบว่า พื้นที่นวัตกรรมการศึกษาที่มีจำนวนสถานศึกษามากที่สุดคือ จังหวัดศรีสะเกษ ยะลา และระยอง ตามลำดับ
      หากเปรียบเทียบเป็นร้อยละ พบว่า พื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดระยอง มีจำนวนสถานศึกษานำร่องมากที่สุด
      ด้านการเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของผู้เรียน พบว่า ยังไม่สามารถยกระดับผลสัมฤทธิ์ได้มากนัก
      ส่วนทัศนคติเติบโต (growth mindset) ของผู้เรียนไม่มีความเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจน
      ด้านการเลือกใช้นวัตกรรม พบว่า ก่อนหน้านั้นสถานศึกษานำร่องใช้นวัตกรรมการศึกษามาก่อนแล้ว พื้นที่นวัตกรรมการศึกษาทำให้มีสถานศึกษาที่ใช้นวัตกรรมการศึกษามากขึ้น สถานศึกษานำร่องส่วนใหญ่ศึกษานวัตกรรมการศึกษาจากสถานศึกษาใกล้เคียง มีสถานศึกษานำร่องจำนวนน้อยมากที่ศึกษาเลือกใช้นวัตกรรมการศึกษาจากงานวิจัย และยังพบด้วยว่าสถานศึกษานำร่องส่วนใหญ่เน้นพัฒนาสมรรถนะของผู้เรียนด้านการจัดการตนเองอย่างมีสุขภาวะเป็นหลัก แต่สมรรถนะด้านการคิดขั้นสูงและการสื่อสารกลับได้รับการให้ความสำคัญน้อยกว่า
    4. การลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาคณะผู้ประเมินอิสระศึกษาความเหลื่อมล้ำภายในสถานศึกษา พบว่า เป็นประเด็นที่ประสบความสำเร็จน้อยที่สุด หากจะแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ควรให้สถานศึกษาที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของผู้เรียนในระดับต่ำเข้าร่วมเป็นสถานศึกษานำร่องเพิ่มขึ้น ประกอบกับในรายงานประจำปีของพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาแต่ละพื้นที่ พบแผนงานด้านการลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาได้น้อย

ติดตามอื่น ๆ ได้ที่

     



ผู้เขียน : อิศรา โสทธิสงค์, ภัชธีญา ปัญญารัมย์
กราฟิกดีไซน์เนอร์ :
อิศรา โสทธิสงค์, เก ประเสริฐสังข์
ผู้อัพโหลดคอนเทนต์ : ภัชธีญา ปัญญารัมย์

Facebook Comments
แบบสอบถาม กระบวนการจัดการเรียนรู้โครงการวิจัยและพัฒนาสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน เพื่อรองรับการปรับปรุงหลักสูตร แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551คณะศึกษาศาสตร์ มช. ลงพื้นที่เพื่อติดตามผลการพัฒนาสมรรถนะครูและผู้บริหารในการจัดการเรียนรู้แนวใหม่ที่สอดรับวิสัยทัศน์และพันธกิจของโรงเรียนในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ณ โรงเรียนสันป่าตอง(สุวรรณราษฎร์วิทยาคาร)
บทความล่าสุด