นวัตกรรมการบริหาร UDOMSIT UDS MODEL เพื่อการจัดการสถานศึกษาอย่างมีคุณภาพ

9 กันยายน 2564

โรงเรียนอุดมสิทธิศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาญจนบุรี สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ นวัตกรรมการบริหารและการจัดการของสถานศึกษา UDOMSIT UDS MODEL ของโรงเรียนอุดมสิทธิศึกษาจำแนกองค์ประกอบของนวัตกรรมออกเป็น  ๓ องค์ประกอบ ได้แก่ องค์ประกอบ ด้านที่ ๑ การบริหารและการจัดการองค์กร (U) องค์ประกอบด้านที่ ๒ กระบวนการพัฒนาคุณภาพ (D) องค์ประกอบด้านที่ ๓ คุณภาพของผู้เรียน (S) ซึ่งแต่ละองค์ประกอบมีรายละเอียด ดังนี้

นวัตกรรมการบริหารและการจัดการสถานศึกษา UDOMSIT UDS MODEL

องค์ประกอบด้านที่ ๑ การบริหารและการจัดการองค์กร (U : Union)

การบริหารและการจัดการองค์กร (U : Union) เป็นการดำเนินงานในด้านการพัฒนาสถานศึกษาให้เกิดความมั่นคงและยั่งยืนตามบริบทของสถานศึกษาที่สอดคล้องกับสภาพสังคม เศรษฐกิจ การเมืองและความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยการบริหารและการจัดการองค์กรของโรงเรียนอุดมสิทธิศึกษาแบ่งออกเป็น ๖ ด้าน ดังนี้

๑) โครงสร้างสถานศึกษา (Structure)
๒) บุคลากร (Staff)
๓) งบประมาณ (Budget) 
๔) สิ่งอำนวยความสะดวก (Amenity) 
๕) ความร่วมมือ (Cooperation) 
๖) เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology)

องค์ประกอบด้านที่ ๒ กระบวนการพัฒนาคุณภาพ (D : Development)

กระบวนการพัฒนาคุณภาพ (D : Development) เป็นการดำเนินงานในด้านการวางแผนกำหนดเป้าหมายและทิศทางการจัดการศึกษา การถ่ายทอดองค์ความรู้ ทักษะกระบวนการและประสบการณ์เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมตามคุณลักษณะที่พึงประสงค์ อย่างเป็นระบบ โดยกระบวนการ พัฒนาคุณภาพของโรงเรียนอุดมสิทธิศึกษาแบ่งออกเป็น ๕ ด้าน ดังนี้

๑) หลักสูตรสถานศึกษา (Curriculum) 
๒) กระบวนการจัดการเรียนรู้ (Learning)
๓) การวัดและประเมินผล (Assessment)
๔) กระบวนการวิจัยและพัฒนา (Research and Development)
๕) นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา (Innovation & Technology)

องค์ประกอบด้านที่ ๓ คุณภาพของผู้เรียน (S : Student)

คุณภาพของผู้เรียน (S : Student) เป็นการดำเนินงานในด้านการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนให้มีความรู้ ทักษะ เจตคติ คุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุขตามเป้าหมายการจัดการศึกษาของสถานศึกษา โดยคุณภาพของผู้เรียนโรงเรียนอุดมสิทธิศึกษาแบ่งออกเป็น ๔ ด้าน ดังนี้

๑) ทักษะวิชาชีพ (Career Skills)
๒) ทักษะวิชาการ (Academic Skills)
๓) ทักษะชีวิต (Life Skills)
๔) คุณธรรม จริยธรรม (Morals) 

กระบวนการพัฒนาองค์ประกอบนวัตกรรมทั้ง ๓ ด้านของโรงเรียนอุดมสิทธิศึกษาดำเนินการขับเคลื่อนโดยใช้วงจรคุณภาพ UDOMSIT ซึ่งมีขั้นตอนการดำเนินงานจำนวน ๖ ขั้นตอน คือ ๑) รวมกลุ่ม ร่วมคิด ร่วมทำ (U) ๒) สร้างสรรค์และพัฒนา (D) ๓) การดำเนินงาน (O) ๔) บริหารจัดการคุณภาพ (M) ๕) สรุปและประเมินผล (S) ๖) ข้อมูลสารสนเทศ (IT) 

ภาพแสดงการบริหารและการจัดการสถานศึกษาในด้านการบริหารและการจัดการองค์กร

   

   

   

ภาพแสดงการบริหารและการจัดการสถานศึกษาในด้านกระบวนการพัฒนาคุณภาพ

   

     

     

ภาพแสดงการบริหารและการจัดการสถานศึกษาในด้านทักษะวิชาชีพ

     

     

     

ภาพแสดงการบริหารและการจัดการสถานศึกษาในด้านทักษะวิชาการ

     

     

       

      

ภาพแสดงการบริหารและการจัดการสถานศึกษาในด้านทักษะชีวิต

     

ภาพแสดงการบริหารและการจัดการสถานศึกษาในด้านคุณธรรม จริยธรรม

     

     

การขับเคลื่อนการดำเนินงานของโรงเรียนอุดมสิทธิศึกษาโดยใช้นวัตกรรมการบริหารและการจัดการสถานศึกษา UDOMSIT UDS MODEL ส่งผลให้การดำเนินงานของสถานศึกษาบรรลุเป้าหมายตามที่สถานศึกษากำหนด กระบวนการบริหารและการจัดการของสถานศึกษาเป็นระบบและมีคุณภาพ หลักสูตรสถานศึกษาสอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่น มีความหลากหลายและตอบสนองต่อความต้องการของผู้เรียน สร้างโอกาสทางการศึกษาและเปิดกว้างให้ผู้เรียนได้มีโอกาสเข้าถึงการเรียนรู้ตามความถนัดและความสนใจของตนเอง ผู้เรียนมีความรู้ ทักษะ เจตคติ คุณธรรม จริยธรรม คุณลักษณะและค่านิยมที่พึงประสงค์ตามที่สถานศึกษากำหนด สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมที่มีความหลากหลายทางเชื้อชาติและความแตกต่างทางวัฒนธรรมได้อย่างมีความสุข ผู้เรียนที่จบการศึกษาจากโรงเรียนมีแนวโน้มในการศึกษาต่อและประกอบอาชีพเพิ่มมากขึ้น ชุมชน ผู้ปกครองและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง มีความเชื่อมั่นให้การยอมรับการจัดการศึกษาของสถานศึกษาและส่งบุตรหลานเข้ามาเรียนในโรงเรียนเพิ่มมากขึ้น


 

ผู้เขียน : ณัฐมล  ไชยประดิษฐ์
ผู้ให้สัมภาษณ์ : พรพรรณ ผาสุวรรณ รองผู้อำนวยการโรงเรียนอุดมสิทธิศึกษา
ผู้สัมภาษณ์ : ณัฐมล  ไชยประดิษฐ์
กราฟิกดีไซน์เนอร์: อิศรา โสทธิสงค์, เก ประเสริฐสังข์
ผู้อัพโหลดคอนเทนต์: ปราชญาพร   แช่ใจ
ภาพประกอบ : โรงเรียนอุดมสิทธิศึกษา

Facebook Comments
Download เอกสารและรับชมย้อนหลังการเสวนา ? ‘ล็อกดาวน์’ ไม่ล็อกการเรียนรู้ #EP.3 “บทเรียนครูสามเส้า” การปรับตัวภายใต้บริบทของพื้นที่และสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป กรณีศึกษาเครือข่ายโรงเรียนนำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดสตูลยกระดับการเรียนรู้ด้วยนวัตกรรม Lesson Study & Open Approach เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการออกแบบชั้นเรียน เพื่อสร้างการเรียนรู้และแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ตามวิถีของตน
บทความล่าสุด